วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันที่ 21 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2561


ความรู้ที่ได้รับ 


✩ วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ต้องดูจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เพราะเนื้อหาควรจัดให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก 

สาระการเรียนรู้
1. ประสบการณ์สำคัญ 
➨ด้านร่างกาย
ด้านอารมณ์-จิตใจ
ด้านสังคม
ด้านสติปัญญา
2. สาระที่ควรเรียนรู้
เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

การเล่น คือ วิธีการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม กล่าวคือ เด็กได้ลงมือกระทำหรือปฏิบัติ เลือกและตัดสินใจด้วนตนเองอย่างอิสระซึ่งให้สอดคล้องกับพัฒนาการในแต่ละด้านของเด็ก ถ้าเด็กเกิดการเปลี่ยนแปลง นั้นแสดงว่าเด็กได้เกิดการเรียนรู้แล้ว 

✩ ต่อมาเพื่อนก็ได้นำเสนอบทความของแต่ละคน ประกอบด้วย บทความ วิจัย และตัวอย่างการสอน ที่เกี่ยวกับคณิคศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 


วัชรา   ค้าสุกร 
รายงานตัวอย่างสื่อการสอนคณิตศาสตร์ "สื่อการสอนคณิตคิดสนุก" เป็นการฝึกนับตัวเลขแทนจำนวนสัตว์  / อาจารย์ได้ให้ข้อแนะนำว่าการนำตัวอย่างสื่อการสอนมาควรมีครูเพื่อสอนหรือบอกเทคนิคต่างๆ 



-เพ็ญประภา   บุญมา 
รายงานบทความ ชื่อบทความว่า "เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล" กระบวนการคิดกับคณิตศาสตร์ ผู้ปกครองควรเสรมกระบวมการคิดของเด็ก/การบวนการแก้ปัญหาอย่ามีเหตุผล 




- ปฏิภาณ  จินดาดวง 
รายงานวิจัย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืช  โดยรู้จักเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ทักษะการรู้ค่าจำนวน การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ เพื่อให้เด็กเกิดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ดี



ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่เพื่อนรายงานและได้ออกไปช่วยเพื่อนในการนำเสนอด้วย 
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการฟังเพื่อนเวลาออกไปรายงาน 
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์จะคอยแนะนำ และพูดเสริมข้อที่ผิดพลาดเสมอ 










วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันที่ 14 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2561


ความรู้ที่ได้รับ  


✩ วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนเกี่ยวกับแนวคิดพัฒนาการด้านสติปัญญาของเพียเจท์  
ช่วงอายุ 2-4 ปี เด็กจะมีพัฒนาการทางภาษา สามารถพูดประโยคง่ายๆได้
ช่วงอายุ 4-7 ปี พัฒนาการจะดีขึ้น เริ่มมีเหตุผล (รูปธรรม →นามธรรม) แต่ยังไม่สมบูรณ์มาก
      เมื่อเด็กสามารถตอบโต้โดยใช้เหตุผลได้ เราจะเรียกขั้นนี้ว่า "ขั้นอนุรักษ์" เช่นการทอดลองของเพียเจย์เมื่อใส่น้ำลงไปในแก้ว แม้รูปร่างจะเปลี่ยนไป แต่ปริมาตรยังคงเดิม 


พัฒนาการ สะท้อนมาจากการทำงานของสมอง


 วิธีการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย
1. จัดให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
2. จัดให้สอดคล้องการเรียนรู้ของเด็ก เช่น การให้เด็กเล่น สัมผัส การลงมือทำด้วยตนเอง


ดังรูป ธงชาติ สามารถสอนคณิตศาสตร์เด็กได้หลากหลาย 
เช่น การบอกจำนวนของสีธง,รูปทรงต่างๆ


✩ ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ตามหลักเพียเจท์

1.ความรู้ทางด้านกายภาพ
2.ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์ 


ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย 
1. การนับ ➜ การนับจำนวนเพื่อนๆในห้อง,นับจำนวนสีของไฟแดง, นับจำนวนสิ่งเครื่องใช้ที่อยู่รอบตัว
2. ตัวเลข ➜ การบอกอายุตัวเอง,
3. การจับคู่  จับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท การแยกของใช้ใส่ในตะกร้า,
5. การเปรียบเทียบ➜เปรียบเทียบดินสอ ยาวกว่า สั้นกว่า 
6. การจัดลำดับ  จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง
7. รูปทรงและเนื้อที่ ➜ให้เด็กสังเกตุรูปทรงต่างๆในห้องเรียน เช่น พัดลม ก็จะเป็นรูปทรงวงกลม 
8. การวัด ➜ วัดเนื้อที่ในห้องเรียน โดยใช้เท้าเป็นก้าว หรือใช้แขนต่อกันเพื่อวัด
9. เซต การแบ่งรองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น 
10. เศษส่วน การแบ่งแยกเศษส่วนของเค้ก 1 ปอนด์ 
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย ฝึกตัดการดาษทำตามแบบ,ต่อตัวต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม 


✩ หลักการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวทางการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย 

1.เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง เริ่มจากการสอนแบบรูปธรรม คือ   1.1ขั้นใช้ของจริง  สอนในหมวดผัก ผลไม้ ก็สามารถนำของจริงมาสอนเด็กได้
   1.2ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง ➜ สอนในหมวดสัตว์ เช่น ไดโนเสาร์ ซึ่งไม่สามารถนำของจริงมาได้จึงต้องนำรูปหรือสื่อต่างๆมาสอนแทน
   1.3ขั้นกึ่งรูปภาพ  การสมมุติฐานขึ้นมาก่อน
   1.4ขั้นนามธรรม ➜ เมื่อเด็กเข้าใจแล้วจึงสามารถใช้เครื่องหมายต่างๆสอนเด็กได้ 
2.เริ่มจากสิ่งง่ายๆใกล้ตัวเด็กจากง่ายไปยาก

3.สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้เด็กท่องจำ
4.ฝึกให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
5.จัดกิจกรรมให้เด็กเกิดความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปด้วย เช่น ร้องเพลงเกี่ยวกับการนับจำนวน การเล่นมุมในบ้าน การจัดกิจกรรม
6.จัดกิจกรรมให้เข้าใจในขั้นตอนให้มีประสบการณ์ให้มาก แล้วสรุปกฏเกณฑ์เพื่อจำเป็นอันดับสุดท้าย
7.จัดกิจกรรมทบทวน โดยตั้งคำถามให้ตอบปากเปล่าหรือสร้างเรื่องราวให้คิดซ้ำส่งเสริมให้เด็กคิดปัญหาและหาเหตุผล ข้อเท็จจริง 

ประเมินตนเอง : ตั้งใจ มีส่วนร่วมในการตอบคำถามต่างๆ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามอาจารย์
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ช่วยอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น 





วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันที่ 9 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2561


ความรู้ที่ได้รับ 


✩ วันนี้เริ่มจากการที่เพื่อนๆ คือ รุ่งฤดีและรัตนา ได้ออกไปรายงานบทความและวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เนื่องจากเพื่อนได้รายงานเป็นสองคนแรก อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและให้เพื่อนที่ต้องรายงานสัปดาห์ต่อไปแก้ไขและปรับปรุง 


✩ ต่อมาอาจารย์ได้จำลองสถานการณ์ความชอบกิน ส้มตำ กับ ลาบไก่ เป็นการสอนหลักการ1ต่อ1 โดยจับคู่ ถ้าจับคู่แล้วมีอันไหนเหลือ แสดงว่าจำนวนที่เหลืออยู่คือจำนวนที่มากกว่า เป็นวิธีการสอนจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่า โดยจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยเข้าใจง่ายๆ 


เพื่อนๆออกไปหน้าห้อง
เพื่อเลือกว่าชอบส้มตำ หรือ ลาบไก่
ผลที่ได้คือมีจำนวนนักศึกษาที่ชอบกินส้มตำมากกว่าลาบไก่ 9 คน
(สัญลักษณ์ 🌕 แทนจำนวนที่เหลือ)

✩ อาจารย์ได้ตั้งคำถามกับนักศึกษา "คณิตศาสตร์อยู่ทุกหนแห่ง"  อาจารย์ได้ให้เขียนลงกระดาษและบอกด้วยว่ามีอยู่ที่ไหน อย่างไร ให้อธิบาย  และถามในหัวข้อต่อมาว่า "ใช้คณิตศาสตร์เมื่อ..."  เมื่อไหร่ที่เราจะใช้คณิตศาสตร์ 




✩ สุดท้ายอาจารย์ได้เปิดเพลงแล้วให้นักศึกษาปรบมือตามจังหวะเพลง และเขียนจังหวะเพลงใส่ในกระดาษโดยให้จังหวะเพลงเป็นสัญลักษณ์ และสุดท้ายได้ให้นักศึกษาร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ 











ประเมินตนเอง : วันนี้เรียนค่อยข้างเยอะ,บรรยากาศในห้องสนุกไม่ตรึงเครียด 
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ เมือบางคนตอบไม่ได้เพื่อนๆก็จะช่วยกันตอบ
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์สอนโดยให้ทำกิจกรรมและสอดแทรกเนื้อหาระหว่างทำกิจกรรม 






วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันที่ 30 เดือนมกราคม พ.ศ.2561


ความรู้ที่ได้รับ 


✩ สัปดาห์นี้อาจารย์ได้แจกกระดาษมาคนละหนึ่งแผ่น และให้มาขาดไป1 แผ่น ซึ่งอาจารย์กำลังจะสอนเกี่ยวกับการให้จำนวนกระดาษมากหรือน้อยกว่าจำนวนคนนั้นเอง และอาจารย์ได้ให้ พับกระดาษ A4 เป็นสองส่วน โดยให้พับหลายๆครั้ง แต่ละส่วนไม่จำเป็นต้องเท่ากันก็ได้
✩ ต่อมาอาจารย์ได้สอนโดยตั้งคำถามต่างๆ ได้ข้อมูลดังนี้ 
คณิตศาสตร์ → เป็นเครื่องมือในการหาค่าต่างๆ 
เด็กปฐมวัย → พัฒนาการเชื่อมโยงกับการทำงานของสมอง 
      
 ✧ พัฒนาการ 
     นิยาม/ความหมาย คือ การแสดงออกหรือพฤติกรรมที่แสดงออกตามความสามารถในแต่ละลำดับระดับอายุ คือ ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา 
     ลักษณะ คือ การเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เปรียบเสมือน "ขั้นบันได"

ประสบการณ์ →  พัฒนาการด้านสติปัญญา(เพียเจต์)
Sensoro-Motor Stage ขั้นแรก (แรกเกิด-2ปี) ขั้นรับรู้โดยประสาทสัมผัสทั้ง5 เมื่อความรู้ใหม่สอดคล้องกับความรู้เดิม จะเกิดเป็นความรู้ใหม่ 
     กระบวนการทางสติปัญญา 
1. การซึมซับ หรือการดูดซึม (assimilation)
2. การปรับและจัดระบบ (accommodation) ปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่ 
3. การเกิดความสมดุล (equilibration)








ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังและพยายามจดเนื้อหาที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆในห้องมีส่วนร่วมช่วยกันแสดงความคิดเห็นเวลาทำกิจกรรมในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์พยายามให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม นอกเหนือจากที่มีในห้องเรียน