บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันที่ 14 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2561
ความรู้ที่ได้รับ
✩ วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนเกี่ยวกับแนวคิดพัฒนาการด้านสติปัญญาของเพียเจท์
ช่วงอายุ 2-4 ปี เด็กจะมีพัฒนาการทางภาษา สามารถพูดประโยคง่ายๆได้
ช่วงอายุ 4-7 ปี พัฒนาการจะดีขึ้น เริ่มมีเหตุผล (รูปธรรม →นามธรรม) แต่ยังไม่สมบูรณ์มาก
เมื่อเด็กสามารถตอบโต้โดยใช้เหตุผลได้ เราจะเรียกขั้นนี้ว่า "ขั้นอนุรักษ์" เช่นการทอดลองของเพียเจย์เมื่อใส่น้ำลงไปในแก้ว แม้รูปร่างจะเปลี่ยนไป แต่ปริมาตรยังคงเดิม
พัฒนาการ สะท้อนมาจากการทำงานของสมอง
✩ วิธีการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย
1. จัดให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
2. จัดให้สอดคล้องการเรียนรู้ของเด็ก เช่น การให้เด็กเล่น สัมผัส การลงมือทำด้วยตนเอง
ดังรูป ธงชาติ สามารถสอนคณิตศาสตร์เด็กได้หลากหลาย
เช่น การบอกจำนวนของสีธง,รูปทรงต่างๆ
✩ ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ตามหลักเพียเจท์
1.ความรู้ทางด้านกายภาพ
2.ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์
✩ ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
1. การนับ ➜ การนับจำนวนเพื่อนๆในห้อง,นับจำนวนสีของไฟแดง, นับจำนวนสิ่งเครื่องใช้ที่อยู่รอบตัว
2. ตัวเลข ➜ การบอกอายุตัวเอง,
3. การจับคู่ ➜ จับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท➜ การแยกของใช้ใส่ในตะกร้า,
5. การเปรียบเทียบ➜เปรียบเทียบดินสอ ยาวกว่า สั้นกว่า
6. การจัดลำดับ ➜ จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง
6. การจัดลำดับ ➜ จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง
7. รูปทรงและเนื้อที่ ➜ให้เด็กสังเกตุรูปทรงต่างๆในห้องเรียน เช่น พัดลม ก็จะเป็นรูปทรงวงกลม
8. การวัด ➜ วัดเนื้อที่ในห้องเรียน โดยใช้เท้าเป็นก้าว หรือใช้แขนต่อกันเพื่อวัด
9. เซต➜ การแบ่งรองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น
10. เศษส่วน➜ การแบ่งแยกเศษส่วนของเค้ก 1 ปอนด์
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย ➜ฝึกตัดการดาษทำตามแบบ,ต่อตัวต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ➜ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
✩ หลักการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวทางการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย
1.เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง เริ่มจากการสอนแบบรูปธรรม คือ 1.1ขั้นใช้ของจริง ➜ สอนในหมวดผัก ผลไม้ ก็สามารถนำของจริงมาสอนเด็กได้
1.2ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง ➜ สอนในหมวดสัตว์ เช่น ไดโนเสาร์ ซึ่งไม่สามารถนำของจริงมาได้จึงต้องนำรูปหรือสื่อต่างๆมาสอนแทน
1.3ขั้นกึ่งรูปภาพ ➜ การสมมุติฐานขึ้นมาก่อน
1.4ขั้นนามธรรม ➜ เมื่อเด็กเข้าใจแล้วจึงสามารถใช้เครื่องหมายต่างๆสอนเด็กได้
2.เริ่มจากสิ่งง่ายๆใกล้ตัวเด็กจากง่ายไปยาก
3.สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้เด็กท่องจำ
4.ฝึกให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
5.จัดกิจกรรมให้เด็กเกิดความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปด้วย เช่น ร้องเพลงเกี่ยวกับการนับจำนวน การเล่นมุมในบ้าน การจัดกิจกรรม
6.จัดกิจกรรมให้เข้าใจในขั้นตอนให้มีประสบการณ์ให้มาก แล้วสรุปกฏเกณฑ์เพื่อจำเป็นอันดับสุดท้าย
2.เริ่มจากสิ่งง่ายๆใกล้ตัวเด็กจากง่ายไปยาก
3.สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้เด็กท่องจำ
4.ฝึกให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
5.จัดกิจกรรมให้เด็กเกิดความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปด้วย เช่น ร้องเพลงเกี่ยวกับการนับจำนวน การเล่นมุมในบ้าน การจัดกิจกรรม
6.จัดกิจกรรมให้เข้าใจในขั้นตอนให้มีประสบการณ์ให้มาก แล้วสรุปกฏเกณฑ์เพื่อจำเป็นอันดับสุดท้าย
7.จัดกิจกรรมทบทวน โดยตั้งคำถามให้ตอบปากเปล่าหรือสร้างเรื่องราวให้คิดซ้ำส่งเสริมให้เด็กคิดปัญหาและหาเหตุผล ข้อเท็จจริง
ประเมินตนเอง : ตั้งใจ มีส่วนร่วมในการตอบคำถามต่างๆ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามอาจารย์
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ช่วยอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น