บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันที่ 25 เดือนเมษายน พ.ศ.2561
ความรู้ที่ได้รับ
✩ วันนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอสื่อการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้ (ถาดรองไข่) การนำผลงานลของเพื่อนในห้องมาโชว์และนำเสนอแบ่งปันผลงานกัน
ผลงานสื่อการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ของคู่ดิฉัน
ชื่อเกม "ภาพที่หายไปเป็นอะไรนะ"
ชื่อเกม ภาพที่หายไปเป็นอะไรนะ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ลำดับอนุกรมและความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ เช่น
เสือ-เนื้อ (เสื้อกินเนื้อเป็นอาหาร)
2. เพื่อให้เด็กเกิดพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา เช่น การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
การสังเกตและจดจำตำแหน่งรายละเอียดของภาพ
วิธีเล่น
1. เด็กสังเกตและจดจำรูปแบบของภาพหลักก่อน
2. ดึงแผ่นป้ายภาพหลักออก แผ่นต่อไปเป็นโจทย์ที่รูปภาพหลักหายไปมากกว่า
2 รูป
3. เด็กสังเกตรูปภาพที่หายไปและบอกว่าภาพที่หายไปควรจะเป็นภาพอะไร
4. ให้เด็กหยิบภาพตัวเลือกจากกล่องชุดที่ตรงกับโจทย์
แล้วนำมาใส่ในรางไข่ที่กำหนดไว้ให้กับตรงตามรูปแบบที่กำหนดไว้
5. เมื่อวางครบหมดทุกตัวแล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องโดยเปิดดูเฉลยว่าถูกต้องและตรงกับที่ทำหรือไม่
ประโยชน์ที่ได้รับ
✨ ด้านร่างกาย
- ได้บริหารกล้ามเนื้อมัดเล็ก
- ฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ
✨ ด้านอารมณ์-จิตใจ
- สนุกสนาน
เพลินเพลินกับการได้เล่นเกม
✨ ด้านสังคม
- เด็กมีส่วนร่วมในการเล่นร่วมกันกับเพื่อน
เช่น การพูดคุย การแสดงความคิดเห็นและการรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
✨ ด้านสติปัญญา
- ส่งเสริมทักษะการสังเกต
การจดจำ การคิดและการแก้ปัญหา
- ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงเหตุผล
เช่น สามารถพูดคุย สนทนา โต้ตอบ อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้
จัดทำโดย
นายปฏิภาณ จินดาดวง
นางสาวจีรนันท์ ไชยชาย
ผลงานสื่อการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ของเพื่อนๆในห้องเรียน
เมื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็กแล้ว สื่อสิ่งเหล่านั้นเราต้องจัดให้เป็นรูปธรรม ไปสู่นามธรรม ซึ่งก็คือ เป็นสิ่งที่เด็กสามารถจับต้องได้ นำไปสู่ การคิดเชิงเหตุผล อาจารย์ได้บอกว่า "คนจะมีความคิดเชิงเหตุผลได้ จะต้องมีความคิดรูปธรรมเยอะๆ"
มาตรฐาน คือ เกณฑ์ขั้นต่ำ ถ้ามีมาตรฐานจะต้องมีการประเมิน เป็นที่มาของสาระที่ 6 ในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย เพราะเกี่ยวกับทักษะการคิดเชิงเหตุผล ทักษะการแก้ปัญหาต่างๆ เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถกำหนดเกณฑ์ในการประเมินเด็กได้ ดังนั้นครูผู้สอนจึงต้องจัดประสบการณ์ตามความเหมาะสมของอายุและวัยของเด็ก ครูผู้สอนต้องเชื่อมั่นในตัวเด็ก จึงจะสามารถจัดประสบการณ์ได้ตรงกับความต้องการในแต่ละวัยของเด็ก
การจัดประสบการณ์
1.จัดกับใคร ➜ เด็ก ครูผู้สอนต้องรู้เกี่ยวกับตัวเด็ก รู้พัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย เพื่อจะได้สามารถจัดประสบการณ์เรียนรู้ได้เหมาะสมกับพัฒนาการแต่ละช่วงวัย
2.ทำอย่างไร ➜ การออกแบบและวางแผนสิ่งที่จะนำมาสอนเด็กให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ (การเล่น) ให้เด็กได้มีโอกาสเลือก และตัดสินใจด้วยตนเอง
3.รู้สาระคณิตศาสตร์ ➜ กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
4.การวางแผนการจัดประสบการณ์ ➜ ต้องมีหลักการโดยศึกษาจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย → สาระที่ควรเรียนรู้ และ ประสบการณ์สำคัญ
5.การวัดและประเมินผล
➜ สังเกต โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5ในการเก็บข้อมูล การทำแบบบันทึก
➜ สนทนา-ถามตอบ
➜ ผลงาน,ชิ้นงาน
6.พัฒนาปรับปรุงวิธีการสอน และกระตุ้นเพื่อพัฒนาตัวเด็ก
ประเมินตนเอง : มีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานต่างๆ ตั้งใจเรียนและมีถามอาจารย์บ้างเมื่อไม่เข้าใจ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจทำสื่อมากนำเสนอกัน แบ่งปันสื่อที่ตนเองได้ทำมา
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พูดเสริมข้อมูลต่างๆ และให้คำปรึกษาแนะนำแนวทาง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พูดเสริมข้อมูลต่างๆ และให้คำปรึกษาแนะนำแนวทาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น