วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

มคอ.3

 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คณะศึกษาศาสตร์/หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย


หมวดที่ 1 
ข้อมูลทั่วไป


1.รหัสวิชาและชื่อวิชา
         EAED 2203   การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.จำนวนหน่วยกิต
        3 หน่วยกิต (2-2-5)
3.หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
       คุรุศาสตรบัณฑิต วิชาเอกบังคับ
4.อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
       อาจารย์  ดร.จินตนา  สุขสำราญ
5.ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน
       ภาคการเรียนที่ 2/ ชั้นปีที่ 2
6.รายวิชาที่ต้องมาเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)
          -
7.วิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน
       ไม่มี
8.สถานที่เรียน
       กลุ่ม 121 : วันศุกร์ 08.30-12.30 น.
       กลุ่ม 122 : วันศุกร์ 13.30-17.30 น.
       ห้อง 34-301  อาคาร 34
9.วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
      วันที่ 25 ธันวาคม 2560



หมวดที่ 2
จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

1.จุดมุ่งหมายรายวิชา
หลังจากศึกษารายวิชานี้แล้วผู้เรียนมีพฤติกรรม ดังต่อไปนี้
       1.คุณธรรมจริยธรรม
          1.1 ซื่อสัตย์ สุจริต ในการทำงาน
          1.2 ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
          1.3 แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
          1.4 เคารพกฎระเบียบ และข้อตกลงของห้อง
          1.5 ให้ความเคารพต่อครูอาจารย์และผู้ที่อาวุโส
          1.6 ปฏิบัติตนสอดคล้องกับจรรยาบรรณครูปฐมวัย
       2.ความรู้
          2.1 อธิบายหลักการ ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางคณิตศาสตร์ได้
          2.2 วิเคราะห์และเลือกจิตวิทยาการเรียนรู้ที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม
          2.3 อธิบายสาระการเรียนรู้และทักษะทางคณิตสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
          2.4 วิเคราะห์และเลือกรูปแบบการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
          2.5 ออกแบบและเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
          2.6 วิเคราะห์และเลือก สื่อ อุปกรณ์ ในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อม (มุมประสบการณ์)ได้อย่างเหมาะสม
          2.7 วางแผนประเมินการเรียนรู้สาระและทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
          2.8 อธิบายบทบาทของครูและออกแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์
      3.ทักษะทางปัญญา
          3.1 คิดและวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
          3.2 ประยุกต์ความรู้เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและวางแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างสร้างสรรค์
          3.3 ประเมินปัญหาการจัดประสบการณ์ท่างคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ในการสนับสนุนหรืออ้างอิงนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ
          3.4 สรุปองค์ความรู้ จากปัญหาและความต้องการเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง
      4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
          4.1 ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร และนำเสนอได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีปะสิทธิภาพ
          4.2 ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ และแก้ไขเมื่อพบปัญหาห
          4.3 แสดงบทบาทผู้นำ และผู้ร่วมทำงานได้อย่างเหมาะสม
          4.4 รับผิดชอบในผลงานของตนเองและกลุ่ม
          4.5 แสดงความคิดเห็นหรือประเด็นเพื่อเป้นแนวทางในการแก้ไขสถารการณ์ทั้งของตนเองและกลุ่มได้
          4.6 พัฒนาองค์ความรู้จากการทดลองและแหล่งเรียนรู้ที่สร้างเครือข่ายไว้ได้
     5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
          5.1 ใช้เทคโฯโลยีในการเชื่อมโยงเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ เพื่อศึกษาค้นคว้า สนับสนุนการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ตลอดเวลาไม่จำกัด สถานที่
          5.2 เลือกใช้ช่องทางในการสื่อสารและนำเสนอได้อย่างเหมาะสมกับโอกาสและเวลาทำให้เกิดประสิทธิภาพทั้งด้านการพูด การเขียน
    6.ทักษะการจัดการเรียนรู้
         6.1 วางแผน ออกแบบปฏิบัติการสอน วัดและประเมินผลผู้เรียนตามมาตรฐานคณิตศาสตร์
         6.2 วิเคราะห์กรณีตัวอย่าง สร้างแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ ทดลองการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ จัดแหล่งเรียนรู้

2.วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
              เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจอธิบายความสำคัญของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อนำไปใช้วางแผนและออกแบบการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติเกิดการค้นพบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเตรียมสื่อและการจัดสภาพแวดล้อมในการดำเนินกิจกรรม

     
     หมวดที่ 3
ลักษณะและการดำเนินการ

1.คำอธิบายรายวิชา
   EAED 2203 การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  3(2-2-5)
                        Mathematical  Provision  for Early Childhood
                ความหมาย ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญา การเขียนแผนการจัดประสบการณ์บูรณาการคณิตศาสตร์สู่การฝึกปฏิบัติ การใช้สื่อและการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมทักาะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย บทบาทผู้ปกครอง

2.จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติ/งาน
ภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
1 ชั่วโมง/สัปดาห์
-
2 คาบ/สัปดาห์
4 ชั่วโมง/สัปดาห์


3.จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
          
            ไม่มี



หมวดที่ 4
การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา

1.คุณธรรม จริยธรรม
       1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
             ปลูกฝังความมีความรับผิดชอบ  ใฝ่รู้  ตรงต่อเวลา
       1.2 วิธีการสอน
             การปฏิบัติตนและเป็นตัวอย่างที่ดีของอาจารย์ผู้สอน
             กำหนดเป็นข้อตกลงของห้อง
             สอดแทรกระหว่างการเรียนการสอนทุกครั้ง
             เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นในเรื่องความรับผิดชอบ ใฝ่รู้ ตรงต่อเวลา
       1.3 วิธีการประเมินผล
             ประเมินจากพฤติกรรมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนด้วยแบบบันทึกสังเกต  ประเมินตนเองด้วยการเขียนสะท้อนผลการเรียนรู้ เพื่อประเมินเพื่อนอย่างมีส่วนร่วม  ครูเป็นผู้ประเมินด้วยแบบทดสอบและตรวจแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio By Blog)

2.ความรู้
       2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
                ความรู้ความหมาย   ความสำคัญ  แนวคิด  หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสาตร์ รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   การเลือกและใช้สื่อทางวิทยาศาสตร์  บทบาทของครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ และการประเมินทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
      2.2 วิธีการสอน
                 การบรรยาย  การอภิปราย การทำกิจกรรมกลุ่ม มอบหมายการค้นคว้าด้วยตัวเองโดยใช้สื่อเทคโนโลยี  เป็นกลุ่มและรายงายเดี่ยว   การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การวิเคาระห์บทความ ศึกษาดูงาน รวมทั้งการปฏิบัติทดลองจัดประสบการณ์
      2.3 วิธีการประเมิน
                 ประเมินจาการสังเกตการนำเสนอผลงาน การสรุปผลอภิปราย รายงานการค้นคว้า การทดสอบย่อยและปลายภาค

3.ทักษะทางปัญญา
       3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
                 คิดวิเคราะห์   สังเคาระห์  รูปแบบการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  งานวิจัย บทความ และบูรณาการองค์ความรู้ที่ได้จากการวิเคาระห์  สังเคราะห์  สรุปประเด็นโดยใช้เครื่องมือการเรียนรู้ (Graphic  Organizers)
       3.2 วิธีการสอน
                 นำเสนอกรณีตัวอย่าง เช่น รูปแบบการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย        งานวิจัย  บทความ  ที่น่าสนใจและสัมพันธ์กับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   ให้นักศึกษาอภิปรายกระบวนการคิดวิเคราะห์  สังเคาระห์  สรุปเป็นองค์ความรู้ โดยใช้เครื่องมือการเรียนรู้ (Graphic  Organizers)  นักศึกษาเลือกสมาชิกกลุ่มเพื่อวางแผนออกแบบ และเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และปฏิบัติการทดลองจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และใช้กระบวนการกลุ่มอภิปราย  วิเคาระห์  การจัดประสบการณ์ดังกล่าว และทำแฟ้มสะสมผลงานสะท้อนความคิดใน  Portfolio By Blog
         3.3 วิธีการประเมินผล
                 ประเมินจากการแสดงความคิดเห็น  การอภิปราย  ผลงานการสรุปองค์ความรู้ โดยใช้เครื่องมือการเรียนรู้(Graphic  Organizers)  รายงานเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม สังเกตการปฏิบัติจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และการเขียนอนุทินในแฟ้มสะสมงานอิเลคทรอนิคส์  Portfolio By Blog

4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
        4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
                 ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อน  มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์
        4.2 วิธีการสอน
                 มอบหมายงานทั้งการทำกิจกรรมกลุ่มและงานเดี่ยว เชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนางานของเพื่อน
        4.3 วิธีการประเมินผล
                 ประเมินความรับผิดชอบในการทำกิจกรรม และการทำงานกลุ่มและการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น

5.ทักษะการวิเคาระห์เชิงตัวเลข  การสื่่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
         5.1 ทักษะการวิเคาระห์เชิงตัวเลข  การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
                 ใช้ภาษาพูด  ภาษาเขียนในการสื่อสาร ใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ และการถ่ายทอดสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         5.2 วิธีการสอน
                  สอนโดยใช้  Power  point ประกอบการบรรยาย  การสรุปองค์ความรู้โดยใช้ (Graphic  Organizers)  การสร้างแหล่งเรียนรู้และเครือข่าย Web การศึกษาค้นคว้างานวิจัย เอกสาร บทความ ตำรา จากอินเตอร์เน็ต  การแสดงความคิดเห็นต่องานของตนเองและผลงานของเพื่อน Portfolio By Blog

          5.3 วิธีการประเมิน
                   ประเมินจากการนำเสนอรายงาน  ผลงานการแสดงความคิดเห็นในแฟ้มงานอิเลคทรอนิคส์และการสร้างองค์ประกอบของแฟ้มสะสมผลงานงานอิเลคทรอนิคส์ตามที่กำหนด

6.ทักษะการจัดการเรียนรู้
         6.1 ทักษะการจัดการเรียนรู้ที่ต้องพัฒนา
                   การวางแผน  ออกแบบปฏิบัติการสอน การวัดและประเมินผลผู้เรียนามมาตรฐานคณิตศาสตร์  การสร้างแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ทดลองจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์  การเตรียมสื่อและแหล่งเรียนรู้
         6.2 วิธีการสอน
                วิเคราะห์กรณีตัวอย่างที่สะท้อน รูปแบบการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ที่ดี  งานวิจัยที่แสดงนวัตกรรมการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ที่น่าสนใจ เพื่อสรุปเป็นแนวทางการจัดประสบการณ์
ให้นักศึกษาเขียนสาระที่เด็กควรรู้โดยใช้ (Graphic  Organizers)  วิเคาระห์มาตรฐานคณิตศาสตร์เพื่อนำมาเป็นประสบการณ์สำคัญในด้านคณิตศาสตร์และออกแบบการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในกิจกรรมเสริมประสบการณ์  ฝึกเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  เตรียมสื่อและทดลองจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ พร้อมจัดแหล่งเรียนรู้
          6.3 วิธีการประเมิน
                     ประเมินจากผลงานประกอบด้วย  แผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สื่อและแหล่งเรียนรู้  สังเกตการทดลองจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์  การสรุปความคิดเห็นในแฟ้มงานอิเลคทรอนิคส์

หมวดที่ 5
แผนการสอนและการประเมินผล


1. แผนการสอน


สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน การสอน สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)
ผู้สอน
1
1.แนวทางกรสอนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. การสร้างบล็อกมีองค์ประกอบ ดังนี้
       2.1 ชื่อและคำอธิบายบล็อก
       2.2 รูปและข้อมูลผู้เรียน
       2.3 ปฎิทินและนาฬิกา
       2.4 เชื่อมโยง บล็อกอาจารย์ผู้สอน,หน่วยงานสนับสนุน,แนวการสอน,งานวิจัยด้านคณิตศาสตร์,บทความ,สื่อ (เพลง,เกม,นิทาน,แบบฝึกหัด,ของเล่น)
3. แนวทางการเขียนอนุทินเพื่อบันทึกหลังการเรียน
      
4
1.ชี้แจ้งแนวปฏิบัติ ตามแนวการสอน
2.ร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็นต่อแนวทาง ในการปฏิบัติตามแนวการสอนตลอดจนข้อสงสัยต่างๆ
3.สร้างบล็อกเพื่อเป็นแฟ้มสะสมผลงานอิเลคทรอนิคส์เพื่อการประเมินในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
4.แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มๆละ  4-5 คน
ดร.จินตนา
สุขสำราญ
2-3
1.ความหมาย
2.ความสำคัญ
3.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
4.จิตวิทยาการเรียนรู้
5.แนวคิดนักการศึกษา
6.หลักการการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
8
1.แต่ละกลุ่มๆนำเสนองานและร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นแลนำเสนอข้อสรุปของกลุ่มใหญ่
2.เมื่อนำเสนอครบทุกลุ่มช่วยกันสรุปเป็น Concept Mapping และนำไปส่งในบล็อก
3.มอบหมายงานในครั้งต่อไป
ดร.จินตนา
สุขสำราญ
4-6
สาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
1.การนับ-จำวนว
2.ปริมาณ-ปริมาตร
3.การวัด
4.การเปรียบเทียบ-เรียงลำดับ
5.รูปทรงและความสัมพันธ์
12
1.นำเสนองานที่ได้รับมอบหมายประกอบด้วยความหใย แนวทางการจัดกิจกรรม สื่อ ทางคณิตศาสตร์ เรื่องและตัวอย่างกิจกรรม
      1.1 การนับ-จำนวน
      1.2 ปริมาณ-ปริมาตร
      1.3 การวัด
      1.4 การเปรียบเทียบ-เรียงลำดับ
      1.5 รูปทรง-ความสัมพันธ์
2.ประเมินการนำเสนอแต่ละกลุ่มและระหว่างกลุ่ม

3.มอบหมายงานในครั้งต่อไป
4.แบบทดสอบ
ดร.จินตนา
สุขสำราญ
7-8
1.การวางแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
       1.1 ออกแบบหน่วยการเรียน
       1.2 สาระของหน่วยที่เด็กควรรู้
       1.3 รูปแบบการจัดประสบการณ์
      1.4 การเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
      1.5 สื่อ  อุปกรณ์ในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
      1.6 การประเมินผล

8
1.แบ่งกลุ่มนักศึกษากลุ่มละ 4-5 คน
2.ศึกษาใบงาน ประกอบด้วย ออกแบบหน่วยการเรียนทำ Mind Mapping  เนื้อหาที่เด็กควรรู้กำหนดทักษะคณิตศาสตร์ที่เด็กควรปฏิบัติได้
3.ศึกษาและเลือกรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสม
4.เขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
5.ผลิตสื่อ
6.ออกแบบวิธีการประเมินสาระและทักษะทางคณิตศาสตร์
7.ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 4-5 คนและมอบหมายงานในครั้งต่อไป
8.แบบทดสอบ
ดร.จินตนา
สุขสำราญ
9-10
การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย
8
1.ให้นักศึกษา สังเกตชั้นเรียนอนุบาลและร่วมอภิปรายในกลุ่มเพื่อสรุปการเลือกหัวข้อในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ในชั้นเรียน
2.นำเสนอหัวข้อพร้อมใช้เหตุผลสนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ในชั้นเรียน
3.ผลิตสื่อและจัดมุมประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้สาระและทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามหัวที่นำเสนอ
4.ให้นักศึกษาประสานงานกับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมในเรื่องวันเวลาและหน่วยเพื่อทดลองจัดประสบประการณ์ทางคณิตศาสตร์ในชั้นเรียน
5.แบบทดสอบ
ดร.จินตนา
สุขสำราญ
สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน  การสอน สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)
ผู้สอน
11-13
การจัดประสบการณ์คณิตสาตร์ในชั้นเรียน
12
1.ให้นักศึกษาทดลองจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ในชั้นเรียน
2.มอบหมายงานในครั้งต่อไป
ดร.จินตนา
สุขสำราญ
14
บทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์
4
1.ศึกษาใบงานและสรุปบทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศสตร์
2.เสนอแนวทางการให้ความรู้แลขอความร่วมมือจากผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์
3.สร้างเครื่องมือจากผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์
ดร.จินตนา
สุขสำราญ
15
สรุปบทเรียน
4
1.นักศึกษาสรุปองค์ความรู้ในรูปแบบ Concept mapping
2.นักศึกษาวิเคราะะห์พฤติกรรม 5 ด้าน ที่เกิดขึ้นกับตนเองเป็นรายบุคลแล้วจดบันทึกในแบประเมิน
3.นักศึกษานำเสนอเป็นรายบุคคล
ดร.จินตนา
สุขสำราญ
16
ทดสอบปลายภาค
3
แบบทดสอบ
ดร.จินตนา
สุขสำราญ


2.แผนการประเมินผลการเรียนรู้


ลำดับที่
ผลการเรียนรู้
วิธีการประเมิน
สัปดาห์ที่ประเมิน
สัดส่วนของการประเมินผล
1
ความรู้ทักษะการวิเคาระห์การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี
1.การสังเกตการนำเสนอรายงานด้วยแบบบันทึกการสังเกต
2-3,
11-12
40
2
ความรู้
ทดสอบย่อย
8
10
3
ความรู้
ทดสอบปลายภาค
16
20
4
ความรับผิดชอบ/ตรงต่อเวลาและการใฝ่รู้
1.การส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
2.การเข้าชั้นเรียน
3.การสร้างเครือข่ายแหล่งเรียนรู้และสรุปสื่งที่สนใจ
ทุกสัปดาห์
20
5
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
สังเกต
1.การมีส่วนร่วมจาการทำงาน/รายงานกลุ่ม
2.การทดลองจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ทุกสัปดาห์
10
6
การจัดการเรียนรู้
1.ตรวจผลงานการวางแผนและออกแบบการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์และแหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
2.ตรวจแผนจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
3.สังเกตการทดลองจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย






หมวดที่ 6
ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน


เอกสารอ่านประกอบ และ Website

กระทรวงศึกษาธิการ  หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
กระทรวงศึกษาธิการ  คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
นภเนตร  ธรรมบวร     การพัฒนากระบวนการคิด 2549
นันทิยา   น้อยจันทร   การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2548
นิตยา   สุวรรณศรี      การศึกษาก่อนวัยเรียน ต้นอ้อ บริษัท 2535
นิตยา   ประพฤติกิจ    เพชบุรีวิทยาลัยครู 2537
สมศักดิ์  สินธุระเจริญ  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนคณิตศาสตร์  วัฒนาพานิช บริษัท 2544
สุนีย์    เพียซ้าย          อนุบาลลอออุทิศ  โรงเรียน 2540

http://www.ui.com
http://www.msn.com
http://www.quest.arc.nasa.gov/oer
http://www.educom.edu




หมวดที่  7 
การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา


1.กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
      1.1 ประเมินผลการสอนโดยใช้ระบบออนไลน์
      1.2 สะท้อนความคิดเห็นของนักศึกษาหลังการสอนทุกสัปดาห์
      1.3 นักศึกษาเขียนแสดงความคิดเห็นในสัปดาห์สุดท้าย
2.กลยุทธ์การประเมินการสอน
       จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากคณาจารย์ผู้สอนปลายภาค
3.การปรับปรุงการสอน
      3.1 นำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงการสอนและแนวการสอน
      3.2 ค้นคว้าข้อมูลความรู้ใหม่ๆและผลงานวิจัยมาใช้ในการสอน และการจัดกิจกรรม
      3.3 กลุ่มคณาจารย์อภิปราย  สัมมนาเพื่อพัฒนารายวิชาให้มีสาระและการสอนที่เหมาะสมกับหลักสูตรระดับปฐมวัย และการนำไปปฏิบัติได้จริงในสถารศึกษา
4.การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
      4.1 ให้นักศึกษามีโอกาสได้ตรวจสอบคะแนนและเกรดก่อนส่งให้สำนักทะเบียนและประมวลผล
      4.2 จัดประชุมผู้สอนเพื่ออกข้อสอบร่วมกันและพัฒนาข้อสอบให้ได้มาตรฐาน
5.การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
      นำผลที่ได้จากการสอบถามที่ได้จากความคิดเห็น คะแนนสอบของนักศึกษามาประชุมวิเคาระห์สรุปผลเพื่อพัมนารายวิชาก่อนในภาคการศึกษาต่อไป

กิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับผู้ปกครอง


กิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับผู้ปกครอง

กิจกรรมที่ผู้ปกครองให้ความร่วมมือ
ช่วยส่งเสริมพัฒนาการคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย




กิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับผู้ปกครอง

กิจกรรม ชวนลูกทำน้ำมะนาว


วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ในเรื่องของ การนับ จำนวน การวัด เปรียบเทียบ เรขาคณิต(สมมาตร) ผ่านการทำน้ำมะนาว
2.ฝึกให้ลูกเป็นเด็กช่างสังเกต โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง

วัสดุ อุปกรณ์
-มะนาว 
-เลมอน 
-มีดพลาสติก 
-เครื่องคั้นน้ำมะนาว 
-น้ำเย็น น้ำตาล แก้ว ชาม ช้อนตวง และช้อนสำหรับคน
-น้ำแข็งก้อน

ขั้นตอน
1.แม่ชวนลูกสนทนาเกี่ยวกับน้ำดื่มเย็นๆที่ช่วยดับกระหาย เช่น น้ำมะนาว พร้อมชักชวนมาทำน้ำมะนาวทาน
2.แม่จัดเตรียมวัสดุ และอุปกรณ์ในการทำน้ำมะนาวโดยให้ลูกช่วยหยิบวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และให้ลูกบอกสิ่งที่ลูกรู้จักว่ามีอะไรบ้าง มีสิ่งใดที่ลูกไม่รู้จักบ้าง
3.แม่นำผลมะนาวและผลเลมอนมาให้ลูกสังเกตโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยแม่ใช้คำถามดังนี้
-สิ่งที่ลูกเห็นมันคืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ระหว่างผลไม้ 2 ชนิดนี้  (อาจเปรียบเทียบลักษณะภายนอก เช่น ขนาด ผิว สี)
-แม่ผ่าครึ่งมะนาวและเลมอน (อาจให้ลูกทายว่าข้างในผลว่ามีสีเดียวกับผิวด้านนอกหรือไม่)
-ให้ลูกสังเกตและนับจำนวนกลีบภายในผลมะนาวและเลมอนว่ามีจำนวนกี่กลีบ
-ให้ลูกนับจำนวนเมล็ดของมะนาวและเลมอนว่ามีจำนวนกี่เมล็ด
-ให้ลูกดมเปลือกว่ามีกลิ่นเป็นอย่างไร เหมือนกันหรือไม่
-ให้ลูกลองชิมรสมะนาว และเลมอนว่ามีรสชาติเป็นอย่างไร
4.หลังจากให้ลูกสำรวจส่วนประกอบของมะนาวและเลมอนแล้วเริ่มลงมือทำน้ำมะนาวและน้ำเลมอน โดยให้เด็กใช้มีดพลาสติกผ่าครึ่งของผลมะนาวและเลมอน(ผลมะนาวและเลมอนเป็นทรงรี เมื่อผ่าครึ่งผล เนื้อในจะถูกแบ่งเป็นส่วนๆ ซึ่งเป็นการสมมาตรการหมุน ไม่ว่าจะหมุนไปทางใด มันก็จะมีลักษณะเหมือนเดิมเสมอ แม้ว่าบางผลจะไม่สมมาตรกันอย่างสมบูรณ์เนื่องจากอาจมีขนาดผลแตกต่างกัน) โดยแม่ใช้คำถามถามลูกเมื่อลูกผ่าครึ่งมะนาวและเลมอนดังนี้
-ให้ลูกนับจำนวนกลีบมะนาวและเลมอนว่ามีจำนวนเท่ากันหรือไม่
5.นำมะนาวและเลมอนไปคั้นกับเครื่องคั้นน้ำผลไม้ พร้อมกับให้ลูกสังเกต รายละเอียดดังนี้
-ลูกนับจำนวนเมล็ดของมะนาวและเลมอนแล้วนำมาเปรียบเทียบกันว่าอะไรมีเมล็ดมากที่สุด
-เปรียบเทียบปริมาณของน้ำมะนาวและน้ำเลมอนว่า น้ำที่ได้จากอะไรได้ปริมาณมากที่สุดระหว่างมะนาว 1 ผล และเลมอน 1 ผล โดยใช้ช้อนตวงตักน้ำที่คั้นได้ใส่ลงไปในชาม
6.แม่ชวนลูกผสมน้ำมะนาวและน้ำเลมอน โดยให้ลูกใส่น้ำเย็นลงในแก้วๆ ละครึ่งแก้ว จำนวน 2 แก้ว และให้ลูกตวงน้ำมะนาวจำนวน 3 ช้อนชา ลงในแก้วใบที่ 1 และตวงน้ำเลมอน 1 ช้อนโต๊ะ ลงในแก้วใบที่ คนให้น้ำมะนาวและน้ำเลมอนเข้ากันกับน้ำเย็น ลองชิมรดชาติของน้ำทั้ง 2 ชนิด แล้วใช้ช้อนตวงน้ำตาลเติมลงในแก้วทั้ง 2 ใบ โดยใส่ทีละ 1 ช้อนชา คนให้เข้ากันแล้วชิมรดชาติ เติมน้ำตาลไปจนกว่าจะได้รสชาติที่ต้องการ และนำน้ำแข็งมาใส่ในน้ำมะนาวและน้ำ  เลมอน และมาดื่มน้ำ มะนาวและเลมอนร่วมกัน โดยแม่ใช้คำถามดังนี้
-น้ำมะนาวและน้ำเลมอน น้ำชนิดใดมีรดชาติเปรี้ยวที่สุด
-ลูกต้องใส่น้ำตาลกี่ช้อนในน้ำแต่ละชนิดถึงจะได้รดชาติที่ต้องการ (น้ำมะนาวใส่น้ำตาลกี่ช้อนชา และน้ำเลมอนใส่น้ำตาลกี่ช้อน น้ำชนิดใดใส่น้ำตาลมากที่สุดและมากกว่ากี่ช้อน)
-ลูกชอบน้ำอะไรมากที่สุดเพราะอะไร
7.แม่ให้ลูกบอกขั้นตอน วิธีทำน้ำมะนาวและน้ำเลมอนให้แม่ฟังว่าทำอย่างไร

ประโยชน์
1.ลูกได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในเรื่องของ การนับ จำนวน การวัด เปรียบเทียบ เรขาคณิต(สมมาตร) ผ่านกิจกรรมการประกอบอาหาร (การทำน้ำมะนาว)
2.ลูกสามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการแสวงหาคำตอบด้วยการลงมือปฏิบัติจริง