วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันที่ 29 เดือนมีนาคม พ.ศ.2561


ความรู้ที่ได้รับ 


✩ วันนี้อาจารย์ได้ให้คนที่เตรียมพร้อมที่จะนำเสนอออกไปรายงานในหัวข้อที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย ในส่วนของดิฉันได้เตรียมมาจึงได้เป็นคนแรกในการนำเสนอวันนี้ 

-จีรนันท์  ไชยชาย (ดิฉัน)
นำเสนอวิจัยเรื่อง การศึกษาทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ประกอบอาหารพื้นบ้านอิสาน อาจารย์ได้เสนอแนะว่า หากเรานำตัวอย่างวิจัยนี้มาจัดประสบการณ์ให้เด็กจริงๆ ควรให้เป็นสิ่งรอบตัวเด็ก หรือสิ่งต่างๆที่สามารถพบเจอในชีวิตประจำวัน อย่างเช่นในวิจัยนี้ อาหารพื้นบ้านคือ ส้มตำ ซึ่งเป็นอาหารที่เด็กทุกคนรู้จักและเคยกินเป็นประจำอยู่แล้ว เป็นต้น เราสามารถนำไปสอนในชั้นเรียนได้ คือ การสอนแบบบูรณาการโดยการจัดประสบการณ์ประกอบอาหาร (อาจจะหลากหลายขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม,สิ่งต่างๆรอบตัว)  การให้เด็กทำกิจกรรมหนึ่งกิจกรรม แต่เด็กสามารถเรียนรู้ได้ถึงหลายหน่วยหรือหลากหลายวิชา  




-ประภัสสร   แทนด้วง 
ได้นำเสนอการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์เรื่อง ตัวเลขกับเด็กอนุบาล เด็กสามารถจดจำการเรียงลำดับเลขได้ การคำนวนตัวเลข นับเลข บอกปริมาณ เอาค่าปริมาณมาเรียงลำดับ ทำพื้นฐานตัวเลขให้อยู่ในชีวิตประจำวัน และมีในทุกๆกิจกรรม 6 กิจกรรม 



-สุดารัตน์   อาสนามิ
ได้นำเสนอวิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รีบการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่  จุดเด่นของการสอนแบบมอนเตสซอรี่ คือ ครูบอกวิธีการเล่น และตรวจสอบความถูกต้องได้ / สอนเป็นเรื่องๆผ่านเคร่องมือ โดยวิจัยนี้ได้ใช้เครื่องมือในการวิจัยคือแผนการจัดประการณ์ กิจกรรมคณิตศาสตร์จำนวน 15 กิจกรรม โดยยึดหลักการเรียนการสอนแนวมอนเตสซอรี่ 



ประเมินตนเอง : เตรียมพร้อมในการนำเสนอ, และฟังข้อแนะนำจากอาจารย์นำไปแก้ไขและใช้ได้ 
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟัง มีการช่วยกันตอบคำถามต่างๆ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะเป็นแนวทางต่างๆ 



วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย


Click 🔍

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย




สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันที่ 23 เดือนมีนาคม พ.ศ.2561


ความรู้ที่ได้รับ 


✩ วันนี้ก่อนจะเข้าสู่บทเรียนเพื่อนๆก็ได้นำเสนอ ดังนี้

-สุชัญญา  บุญญะบุตร 
นำเสนอบทความเรื่อง "เรียนคณิตศาสตร์อย่างไรไม่ให้เป็นยาขม" 
โดยพ่อแม่ทำให้ลูกสนุก เล่นรูปทรง สังเกตสิ่งต่างๆ การนับเลข สอนเรื่องใกล้ตัว จากรูปธรรมเป็นนามธรรม 


-ทิพยวิมล  นวลอ่อน
นำเสนอการจัดประสบการณ์คณิต เรื่อง สอนคณิตให้มีชีวิตชีวา
ครู้ผู้สอนต้องเอาใจใส่เด็ก ให้เด็กสนุก สอนเด็กโดยการประดิษฐ์สัญลักษณ์ทำท่าทางในการสอน สอนโดยการใช้ภาษา มือ และร่างกาย "Play and Lean"


-กฤษณา  กบขุนทด 
นำเสนอสื่อการจัดประสบการณ์ 
มีการร้องเพลงในขั้นนำ และเพื่อนก็ได้มีอุปกรณ์ สื่อ มาเป็นตัวช่วยในการนำเสนอด้วย เป็นการสอนเด็กเพื่อให้รู้ว่าเป็นของตัวเอง อาจารย์ได้ให้คำแนะนำว่าการสอน ต้องทำกิจกรรมอื่นๆไปด้วย ซึ่งมีหลากหลายกิจกรรม



✩ เมื่ออาจารย์ได้เสนอแนะตัวอย่างของเพื่อนไปแล้ว ต่อมาอาจารย์ก็ได้เริ่มสอนโดยบอกว่าการสอนเรื่องสมมาตร (2ข้างเท่ากัน) ต้องแสดงให้เด็กเห็นภาพทั้งสองส่วน ให้เด็กเห็นว่าเมื่อทำแล้วเกิดชิ้นงาน จากรูปธรรม เป็น นามธรรม  ไม่ว่าจะสอนหน่วยอะไรก็ตาม อันดับแรกให้เด็กคาดคะแนก่อนว่า สิ่งของควรจะมีปริมาณเท่าไหร่ ต่อมาให้เด็ก คิด → ซึ่งขึ้นอยู่กับเด็กว่าจะตอบว่าอย่างไร ตั้งคำถามว่า "ทั้งหมด" "กี่ใบ" เป็นการใช้คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ในการถาม โดยการสร้าง Concept ให้แก่เด็ก 
ตัวอย่าง : มีแก้วทั้งหมดกี่ใบ? 
ครูมีแก้วมา 1 ใบ หยิบเพิ่มมาอีก 1 ใบ เป็น 2 ใบ  
ครูมีแก้วอยู่ 2 ใบ หยิบเพิ่มมาอีก 2 ใบ เป็น 3 ใบ
พอนับถึงใบที่ 9 ตัวสุดท้ายจะเป็นการบอกจำนวนทั้งหมด 
    เมื่อเด็กบอกจำนวนคือเลข 9 เป็นการบอก จำนวนนับ ให้แทนค่าด้วย เลขฮินดรูอาราบิก 
ต่อมาจากแก้วน้ำที่มีจำนวน 9 ใบ แยกออกมา 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสีแดง 5 ใบ กลุ่มสีน้ำเงิน 4 ใบ
ให้เด็กเปรียบเทียบโดยการเอาออก 1 ต่อ 1 เห็นว่าสีแดงเหลือ1ใบ แสดงว่ามีมากกว่าสีน้ำเงิน
    จะให้เด็กแยกกลุ่มเมื่อไหร่ต้องมี เกณฑ์ ในการการเปรียบเทียบเสมอ 




ต่อมาอาจารย์ได้ให้การดาษ A4 มาให้ตีช่อง และแรงเงาแต่ละช่องให้ได้มากที่สุด 
โดยให้มีรูปทรงที่หลากหลายไม่ซ้ำกันกับรูปเดิม ซึ่งเป็นการฝึกทักษะการคิดไปด้วย   





ต่อมาอาจารย์ได้ให้ตัดภาพเป็นรูปแบบต่างให้เป็นสองส่วนและให้ไปวางหน้าห้อง 
และอาจารย์ได้สลับอีกส่วนหนึ่งให้นักศึกษาในห้องเรียนออกไปจับคู่ให้ตรงกับของตนเอง


ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังและจดที่เนื้อหาที่อาจารย์สอน,มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างเติมที่ 
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจฟัง และส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในห้องเรียน 
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะเป็นแนวทางต่างๆ 




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันที่ 16 เดือนมีนาคม พ.ศ.2561


ความรู้ที่ได้รับ 


วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่องสาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในเด็กปฐมวัย 
⏩ ตัวชี้วัดหรือตัวบ่งชี้ คือ สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นกับเด็ก ⏪
1.ความคิดเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Thinking) 
-จำนวนนับ 1-20
-เข้าใจหลักการนับ 
-รู้จักตัวเลขฮินดูอาราบิกและตัวเลขไทย 
-รู้ค่าของจำนวน 
-เปรียบเทียบเรียงลำดับ 
-การรวมและการแยกกลุ่ม 
2.ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
3.ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
4.ความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น 


สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย 


สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ  
มาตรตฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง

สาระที่ 2 การวัด
มาตรตฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

สาระที่ 3 เรขาคณิต
มาตรตฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
มาตรตฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดหลังจากการจัดกระทำ 

สาระที่ 4 พีชคณิต
มาตรตฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรตฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 




ต่อมาอาจารย์ได้ให้เขียนสาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ทั้ง 6 สาระ 
และเขียนกิจกรรมที่เราสามารถจัดให้เด็ก 
โดยเนื้อหาที่ใช้จัดกิจกรรม ให้นำมาจากกรอบมาตรฐานดังกล่าว